แชร์บทความนี้

แนะนำ ร้าน ขาย เครื่องมือ ช่าง แอร์ ราคาถูก

รายการ อุปกรณ์ เครื่องมือ ของ ช่าง แอร์ และ ร้าน ขาย ราคาถูก

IM-TECH VACUUM PUMP รุ่น IM125D
108 ลิตร ต่อ นาที
ราคา 4,500 บาท

ชุดบานแป๊ป ชุดบานแฟร์ ชุดบานท่อ

ภายในกล่องประกอบด้วย:

– 1 x Basic Device
– 1 x Clamping Jaws
– 7 x Pressure Pieces (4.75, 5, 6, 8.10 mm, 1/4 inch, 1/2 inch)
– 1 x Burring Reamer
– 1 x Small Cutting Knife
– 1 x Case

ราคา 418 บาท

หัวฉีดน้ำล้างแอร์
ล้างได้ดี ในที่แคบ หลังคอยล์เย็น
ราคา 300 บาท 



LACOSTA ปั๊มอัดฉีดน้ำแรงดันสูง
200 บาร์ รุ่น Q3 กำลัง 2,600 วัตต์ 3.5HP แรงม้า
ราคา 1,660 บาท

ผ้าใบคลุม ล้างแอร์
สำหรับแอร์ ขนาด 14000- 23000 BTU
แถมฟรี ท่อน้ำทิ้งยาว 2 เมตร
ราคา 289 บาท



ขั้นตอนการติดตั้งแอร์บ้าน

สำหรับเครื่องภายในอาคารจะต้องคำนึงถึงรายละเอียดดังนี้

 บริเวณที่จะติดตั้งต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางลม และเป็นบริเวณที่ลมเย็นสามารถกระจายไปได้ทั่วถึงสถานที่ติดตั้งต้องมีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อไม่ให้เครื่องหรือกำแพงสั่น เมื่อติดตั้งเรียบร้อย บริเวณติดตั้งต้องมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการซ่อมหรือบำรุงรักษาได้ โดยที่มีพื้นที่ด้านซ้ายประมาณ 5 เซนติเมตร ด้านขวาประมาณ 10 เซนติเมตร และด้านบนประมาณ 10 เซนติเมตร

 

นอกจากนั้นบริเวณดังกล่าวต้องสะดวกต่อการทำงานต่อสายไฟ และงานท่อ และจะต้องมีการระบายน้ำได้ง่าย อยู่ห่างจากเครื่องรับโทรทัศน์หรือวิทยุอย่างน้อย 1 เมตรเพื่อป้องกันการรบกวนสัญญาณภาพและเสียง

สำหรับจุดที่จะติดตั้งเครื่องภายนอกอาคารควรจะเป็นบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทดีไม่โดนน้ำฝนหรือแสงแดดส่องโดยตรง สามารถระบายลมร้อนจากเครื่องได้สะดวก เสียงจากการทำงานของเครื่องไม่รบกวนบ้านใกล้เคียง มีพื้นที่เพียงพอสำหรับเข้าไปซ่อมหรือบำรุงรักษาได้

 

บริเวณที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับการติดตั้งได้แก่

  • บริเวณที่อยู่ใกล้ห้องนอน เนื่องจากเสียงการทำงานของเครื่องอาจก่อให้เกิดปัญหาได้
  • บริเวณที่มีโอกาสเกิดการรั่วของก๊าซที่ติดไฟได้
  • บริเวณที่อยู่ในสภาพที่มีไอทะเลหรือมีคราบน้ำมันและไอระเหยน้ำมัน

 

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

เริ่มที่การติดตั้งชุดอินดอร์ยูนิตโดยให้ตรวจดูโครงสร้างของกำแพงที่จะทำการติดตั้งเครื่องภายในอาคารว่า มีความแข็งแรงเพียงพอ จากนั้นนำตัวแผ่นที่จะยึดติดกับตัวเครื่อง มากำหนดจุดกึ่งกลางโดยใช้เหล็กนำศูนย์ตอก เข้าตรงกึ่งกลาง และใช้ระดับน้ำวัดให้ได้ระดับก่อนที่จะใช้ดินสอมาร์คจุดที่ต้องการ

ให้ใช้สว่านไฟฟ้าที่มีดอกเจาะปูนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 มิลลิเมตร เจาะตามรอยดินสอ สำหรับการเจาะผนังทุกส่วนนั้น เราจะต้องดูดฝุ่นไปพร้อมด้วย เพื่อไม่ให้ฝุ่นกระจาย จากนั้นใส่พุกพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 มิลลิเมตรเช่นเดียวกัน แล้วนำแผ่นที่ตัวเครื่องไม่ยึดติดกับผนังให้เรียบร้อย โดยใช้สกรูเกลียวขนาดความยาว 25 mm คันยึดลงไป ซึ่งจะใช้จำนวนไม่ต่ำกว่า 5 ตัว

เมื่อเรียบร้อยแล้วเราจะมากำหนดรู้ที่จะเจาะโฮซอล ด้วยการวัดจากบริเวณมุมขวาด้านล่างของแผ่นยึดตัวเครื่องซึ่งจะมีรอยบากสำหรับวัดจากจุดนี้ไปด้านขวา 70 มิลลิเมตรนั่นก็คือกึ่งกลางที่จะเจาะโฮซอล

จากนั้นมักจุดเส้นผ่าศูนย์กลางด้วยดินสอตามปกติขนาดของเครื่องปรับอากาศขนาด 9000 btu และ 13000 BTU จะใช้ ดอกโฮซอล ขนาด 6.5 มี M สำหรับขนาด 18000 BTU ขึ้นไปจะใช้ โฮซอล ขนาด 75 mm

 

การเจาะรูผนัง

ให้ใช้สว่านไฟฟ้าเจาะผนังด้านในออกไปด้านนอก โดยให้รูที่เจาะมีความลาดเอียงต่ำลง 5 องศา เพื่อให้น้ำทิ้งไหลได้สะดวก และเมื่อเจาะใกล้จะทะลุผนัง ให้เปลี่ยนมาเจาะด้านนอกแทนเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวของผนังปูนแตก เมื่อเจาะเสร็จแล้วให้นำปลอกท่อพลาสติก ตอกและสวมเข้าไปในรูผนัง

 

การต่อสายไฟที่เทอร์มินอลบล็อกของเครื่องภายในอาคาร เริ่มจากถอดเหล็กถอดแคร้งที่พักสายไฟต่อสายไฟที่เทอร์มินอลบล็อกให้แน่นสำหรับรอต่อสายเข้าไปในชุด Outdoor Unit การจัดเตรียมท่อน้ำยาและรางครอบท่อน้ำยาเริ่มจากการวัดระยะเพื่อติดตั้งรางคลี่ท่อน้ำยาที่มากับเครื่องออกและจากท่อน้ำทิ้งให้อยู่ต่ำกว่าท่อน้ำยาเพื่อให้ระบายน้ำ จากนั้นก็รัดท่อน้ำยาระบายน้ำทิ้งและสายไฟเข้าด้วยกันพันให้เรียบร้อยด้วยเทปพันสายไฟแล้วพันทับอีกครั้งด้วยเทปพันท่อ

 

การติดตั้งแขวนเครื่องตัวใน

ให้นำสายไฟและท่อน้ำยาที่ผ่านไว้เรียบร้อยสอดเข้าไปในรูผนังที่เจาะไว้ด้วยความระมัดระวัง เพราะจะทำให้ฉนวนหุ้มท่อเกิดการฉีกขาดจนเกิดปัญหาน้ำซึมได้ จากนั้นให้ส่วนบนของเครื่องตัวในกับแผ่นยึดฝาหลังของเครื่อง แล้วดันส่วนล่างให้เกาะยึดกับแผ่นล่าง ตรวจดูความเรียบร้อยให้ดีอีกครั้ง ตำแหน่งการเดินท่อน้ำยากรณีที่เดินท่อน้ำยาออกทางด้านขวาให้ตัดพลาสติกที่หลุดออก แต่ถ้าเดินท่อน้ำยาออกทางด้านซ้ายให้ตัดพลาสติกตามลักษณะที่ปรากฏ ส่วนท่อระบายน้ำทิ้งนั้นสามารถออกได้ทั้งทางซ้ายมือและขวามือขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานที่

 

การเดินท่อน้ำยา

เริ่มจากการกำหนดตำแหน่งที่จะวางเครื่องตัวนอกจากนั้นวัดขนาดความยาวของท่อน้ำยาจากตัวในบ้านถึงเครื่องตัวนอกบ้าน ส่วนท่อน้ำทิ้งให้วัดความยาวจากจุดต่อของเครื่องตัวในถึงตำแหน่งที่ต้อง การระบายของท่อน้ำทิ้งการดัดท่อทองแดงเริ่มด้วยการใช้เทปพันสายไฟพันปลายท่อทั้งสองด้านให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันเศษผงหรือสิ่งของต่างๆหลุดเข้าไปในท่อ เนื่องจากเป็นท่อสำเร็จรูปให้ใช้คัตเตอร์กรีดฉนวนหุ้มท่อออกจากนั้นจึงใช้เบนเดอร์ดัดท่อแก๊สและท่อน้ำยา ที่เป็นของเหลวตามลักษณะหน้างาน การทำบานแฟล์ ที่เครื่องตัวในเริ่มจากการใช้ประแจถอดหัวแฟร์ทองเหลืองที่ยูเนี่ยน และตัดปลายท่อทองแดงออก แต่งปลายท่อด้วยใช้ริมเมอร์ลบเศษและความคม ข้อควรระวังคืออย่าลืมให้ปลายท่อทองแดงคว่ำลงเพื่อป้องกันเศษวัสดุหลุดเข้าไปในระบบ จากนั้นนำทองเหลืองสอดเข้าไปที่ปลายท่อและขยายปลายท่อด้วยเครื่องบานแฟร์แอร์บ้านได้พอเหมาะ แล้วให้ใช้น้ำมันหล่อลื่นทาส่วนที่บานแฟล์ก่อนที่จะใช้ประแจขัน

 

การตรวจสอบรอยรั่ว

หลังจากทำการขันแฟล์เรียบร้อยแล้วก็ต้องตรวจสอบรอยรั่วที่จุดบานแฟล์ เริ่มจากการถอดฝาที่ปิด service Valve ออก จากนั้นจึงต่อไนโตรเจนผ่าน Regulator ให้ได้ความดันประมาณ 200-250 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ให้ใช้น้ำสบู่ตรวจดูรอยรั่วบริเวณจุดที่บานแฟล์ทั้ง 4 จุด เมื่อตรวจเสร็จแล้วจึงปล่อยไนโตรเจนออก

 

การทําสุญญากาศ

เริ่มจากการต่อสายเกจที่เซอร์วิสวาล์วซึ่งอยู่บริเวณท่อแก๊สของเครื่องตัวนอกโดยต่อผ่าน manifold Gauge เครื่องปั๊มสุญญากาศประมาณ 15 นาทีจนได้ความดัน – 100 kpa หรือ – 0.1 mpa การเปิดวาล์วต้องใช้ประแจหกเหลี่ยมขันเปิดวาล์วที่บริเวณเซอร์วิสวาล์วทั้ง 2 เพื่อเปิดทางให้น้ำยาระหว่างเครื่องตัวในกับเครื่องตัวนอกร้ถึงกัน

 

การจัดท่อน้ำยาและการต่อท่อระบายน้ำทิ้ง

การตัดท่อระบายน้ำทิ้งควรตัดให้พอดีจากนั้นถ้าด้วยกาวทาท่อ PVC ต่อท่อระบายน้ำทิ้งไปยังจุดที่กำหนดไว้จัดท่อน้ำยาและท่อระบายน้ำทิ้งไว้ด้วยกันแล้วต่อท่อน้ำทิ้งจากตัวเครื่องเข้ากับท่อน้ำทิ้งที่เตรียมไว้ด้านนอกพันด้วยเทป Insulation เพื่อเก็บความเรียบร้อยของท่อน้ำยาทั้งสองท่อจากนั้นนำพุตตี้อุดรูผนังที่เจาะไว้

 

การต่อสายไฟที่ Outdoor Unit เริ่มจากเดินสายไฟจากตัวเครื่องด้านในมายังเครื่องตัวนอกด้วยผนวกสายเข้ากับท่อน้ำยาจากนั้นต่อสายเข้ากับ Terminal Block ตามหมายเลขให้ถูกต้องตรงตามข้อทั้งสองด้านระหว่างเครื่องตัวในและตัวนอกการต่อสายดินจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อป้องกันไฟฟ้าดูดและการเกิดสัญญาณรบกวนห้ามต่อสายดินกับท่อน้ำท่อก๊าซโดยเด็ดขาดเพราะจะก่อให้เกิดอันตรายได้การจัดเตรียมรีโมทคอนโทรลเริ่มด้วยการใส่แบตเตอรี่โดยเลื่อนฝาครอบออกและใส่แบตเตอรี่ขนาด 3A 1.5 โวลต์จำนวน 2 ก้อนตรวจดูขั้วให้ถูกต้องการทดสอบคือมีขั้นตอนดังนี้วัดความเป็นฉนวนจะนำแคล้มมิเตอร์มาคล้องที่สายไฟบริเวณ Terminal 1 เส้นเพื่อตรวจวัดกระแสไฟฟ้าต่อเกจและสายเกจเพื่อวัดดูแรงดันของน้ำยาแล้วจึงทดลองเปิดเครื่องปรับอากาศด้วยรีโมทคอนโทรลให้บันทึกค่ากระแสไฟฟ้าแรงดันของน้ำยาแรงดันไฟฟ้าไว้อย่างละเอียดเพื่อเป็นข้อมูลในการให้บริการต่อไปต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่าระบบระบายน้ำไหลได้สะดวก

 

การส่งมอบงาน

ก่อนการส่งมอบงานทุกครั้งเจ้าหน้าที่จะต้องอธิบายการทำงานของเครื่อง การใช้งานรีโมท การดูแลรักษาและทำความสะอาด รวมถึงเงื่อนไขต่างๆของการรับประกันโดยให้ลูกค้ากรอกข้อมูลลงในใบรับประกันให้ครบถ้วนและส่งไปรษณีย์กลับมายังบริษัทภายใน 7 วันเพื่อสิทธิประโยชน์ในการรับประกันตัวเครื่องตามเงื่อนไขที่กำหนด

 


แชร์บทความนี้

Leave a Reply